อาการปวด ข้อเท้าพลิกบ่อย…..อย่าไว้ใจ!!!

อาการปวด ข้อเท้าพลิกบ่อย…..อย่าไว้ใจ!!!
             ข้อเท้าพลิกดูเหมือนว่าเป็นอาการของคนทั่วไป ที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะ คนที่เล่นกีฬา ออกกำลังกาย และสาวๆ ที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ซึ่งบางแต่ละรายมีอาการมากน้อยต่างกัน การบาดเจ็บที่พบได้บ่อย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นกีฬาโดยเฉพาะมือสมัครเล่น เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเท้าได้รับการบาดเจ็บ โดยที่ไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย ลดการปวดข้อเท้า การบาดเจ็บอาจมีเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการอาจจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน จนไปถึงอาการที่รุนแรง
            ซึ่งต้องได้รับการรักษาและคำแนะนำจาแพทย์ อาจจะเกิดผลแทรกซ้อนและทุพพลภาพในเวลาต่อมา โดยปกติเมื่อข้อเท้าพลิกจะพลิกเข้าด้านใน ซึ่งทำให้เอ็นข้อเท้าทางด้านนอกได้รับบาดเจ็บ กิจกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ข้อเท้า เช่น กีฬาที่ต้องกระโดด อย่างบาสเกตบอล แบดมินตัน หรือต้องวิ่งมาก เช่นฟุตบอล ฮอกกี้ อาจจะเป็นเพียงบางส่วนแต่ในรายที่รุนแรงเอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง
          ปัญหาที่มักจะเกิดที่ข้อเท้า เช่น ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงมักเกิดกับกีฬาที่ต้องกระโดด เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เนื่องจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้องผู้ป่วยจะมีอาการปวดฝ่าเท้าในตอนเช้า

ภาพ ; thai.alibaba.com

อาการแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 การยืดหรือช้ำอาจพบเพียงรอยบวมและกดเจ็บที่เอ็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ระดับที่ 2 จะมีการฉีกขาดของเอ็นเพียงบางส่วน จะมีอาการปวดข้อเท้า และบวมค่อนข้างมาก เดินลงน้ำหนักไม่ค่อยได้
ระดับที่ 3 เป็นขั้นรุนแรง จะมีอาการฉีกขาดของเอ็นทั้งหมด ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้
การปฐมพยาบา
1 การประคบน้ำแข็งบริเวณข้อเท้า ที่มีอาการปวดข้อเท้าโดยใช้น้ำแข็งผสมใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าอีกชั้นหนึ่งแล้ววางประมาณ 20 นาที หรือ จนมีความรู้สึกชา ทำซ้ำทุก 2-4 ชั่วโมง อย่างน้อย 2-3 วัน
2 ห้ามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวบริเวณที่เกิดการพลิกโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีส่วนของกระดูกแตกได้ ควรใช้ไม้เท้าขณะเดิน หากจำเป็นที่ต้องเคลื่อนที่
3 ห้ามใช้ยาหม่องนวด หรือ น้ำมัน มวย เป็นอันขาด เพราะตัวยาจะทำให้กระตุ้นโลหิตที่ไหลเวียน เป็นการเพิ่มอาการบวมมากขึ้น ยังมีฤทธิ์แสบร้อน
4 ยกเท้าสูงเข้าไว้ เพื่อลดอัตราการหล่อเลี้ยงของเลือดไม่เข้าไปยังบริเวณที่บวมได้สะดวก ควรหาหมอนมาหนุนขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับของหัวใจ
5 หากมีอาการปวดบวมมาก ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีอาการกระดูกแตกร่วมด้วย
ดูข้อมูลการรักษา อาการปวดข้อๆได้ที่ : http://www.priorder.org